วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการของ ซีพียู ยุคต่างๆ

หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit)หรือที่นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า ซีพียู  CPU เป็นส่วนตีความ และประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของ คอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจ

หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit)หรือที่นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า ซีพียู  CPU เป็นส่วนตีความ และประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของ คอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ
อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
ตีความชุดคำสั่ง (decode)
ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบไปด้วย ส่วนควบคุมการประมวลผล (control unit) และ ส่วนประมวลผล (execution unit) และจะเก็บข้อมูลระหว่างการคำนวณ ไว้ในระบบรีจิสเตอร์  การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกตามหน้าที่ได้เป็นห้ากลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ โดยทำงานทีละคำสั่ง จากคำสั่งที่เรียงลำดับกันไว้ตอนที่เขียนโปรแกรม
Fetch – การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของระหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT)
Decode – การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด
Execute – การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ
Memory – การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)
Write Back – การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่
การทำงานแบบขนานในระดับคำสั่ง (ILP)
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบมี pipeline
โดยการทำงานเหล่านี้ถ้าเป็นแบบพื้นฐานก็จะทำงานกันเป็นขั้นตอนเรียงตัวไป เรื่อยๆ แต่ในหลักความเป็นไปได้คือการทำงานในแต่ละส่วนนั้นค่อนข้างจะเป็นอิสระออก จากกัน จึงได้มีการจับแยกกันให้ทำงานขนานกันของแต่ละส่วนไปได้ หลักการนี้เรียกว่า pipeline เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) โดยข้อมูลที่เป็นผลจากการคำนวณของชุดก่อนหน้าจะถูกส่งกลับไปให้ชุดคำสั่งที่ ตามมาในช่องทางพิเศษภายในหน่วยประมวลผลนั่นเอง
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบมี pipeline และเป็น superscalar
การทำงานแบบขนานสามารถทำให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกคือเพิ่มการทำงาน แต่ละส่วนออกเป็นส่วนที่เหมือนกันในทุกกลุ่มแต่ให้ทำงานคนละสายชุดคำสั่งกัน วิธีการนี้เรียกว่าการทำหน่วยประมวลผลให้เป็น superscalar วิธีการนี้ทำให้มีหลายๆ ชุดคำสั่งทำงานได้ในขณะเดียวกัน โดยงานหนักของ superscalar อยู่ที่ส่วนดึงชุดคำสั่งออกมา (Dispatcher) เพราะส่วนนี้ต้องตัดสินใจได้ว่าชุดคำสั่งอันไหนสามารถทำการประมวลผลแบบขนาน ได้ หลักการนี้ก็เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) เช่นกัน
การทำงานแบบขนานในระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (TLP)
การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละโปรแกรมสามารถแบ่งตัวออกได้เป็นระดับ กลุ่มชุดคำสั่ง (Thread) โดยในแต่ละกลุ่มสามารถทำงานขนานกันได้ (TLP: Thread Level Parallelism)
ระเบิดศึก
ยุค Intel Pentium Classic กับ AMD 5×86 และ AMD K5
[ 11 Apr. 1999 ]
Intel Pentium ( Classic )
ปัจจุบันนี้การแข่งขันกันด้าน CPU นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านของราคา ประสิทธิภาพ รวมถึงความสามารถที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ๆ ทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดนั้นรุนแรงขึ้นทุกๆวัน ซึ่งเมื่อก่อนนั้น เราก็ต้องยกให้ Intel เป็นเจ้าผู้ครองตลาด CPU แทบจะผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อมีบริษัทที่แยกตัวออกมาจาก Intel และทำการผลิต CPU ของตนเอง ใช้ชื่อบริษัทว่า AMD ( Advance Micro Device ) โดยแรกๆนั้น ก็อาศัยแต่เพียงชื่อเสียงและสถาปัตยกรรมของ Intel เพื่อขอมีส่วนแบ่งในตลาดบ้างเท่านั้น แต่ต่อๆมา ก็กลับคิดและออกแบบสถาปัตยกรรมของตนขึ้นมาเพื่อลบล้างคำกล่าวที่ว่าลอกเลียน แบบ Intel และ ยังมีประสิทธิภาพที่สูง รวมถึงราคานั้นก็ต่ำกว่า CPU ของ Intel ในรุ่นเดียวกันอีก จนกระทั่งปัจจุบันนั้นก็ได้มีส่วนแบ่งในตลาด CPU ที่สูงทัดเทียม กับทาง Intel แล้ว
AMD จะสามารถเทียบรอยเท้าของ Intel ทั้งในด้านของ Performance และ ส่วนแบ่งตลาดได้หรือไม่? Intel จะสามารถขจัดคู่แข่งทั้งหลายออกไป และจะยังคงเป็นผู้ครอบครองตลาด CPU แต่เพียงผู้เดียวอีกหรือไม่? ปัจจุบันนี้ CPU รุ่นล่าสุดจากทั้ง 2 ค่าย ค่ายไหน มีประสิทธิภาพ ต่อ ราคา ที่สูงที่สุด?  และ จำเป็นหรือไม่ ที่ เราๆ ท่านๆ ซึ่งเป็นเพียงผู้บริโภค จะต้องรู้เรื่องเหล่านี้ด้วย? ซึ่งสำหรับคำถามนี้ ตอบได้ทันทีว่า จำเป็นครับ เพราะว่า แต่ละค่ายนั้น ก็มีจุดเด่น จุดด้อย ที่ต่างกัน และมีความสามารถที่เด่นๆ ต่างกัน เรา ซึ่งเป็นผู้บริโภค ก็ย่อมจะเลือก ในสิ่งที่ดีที่สุด และ เหมาะสมที่สุด กับตัวเรา
นี่จึงเป็นเหตุให้เรามาวิเคราะห์ และ ศึกษาถึงการแข่งขันกันระหว่าง 2 ค่ายนี้กันนะครับ ทั้งในด้านของเทคโนโลยี และ การตลาด กันนะครับ
เมื่อนานมาแล้ว … A History So Far …
เรื่องมันเกิดขึ้นหลังจากที่ AMD นั้น ได้แยกตัวออกมาจาก Intel และได้จับตลาดการผลิต chip ต่างๆ มากมายหลายรายการ แต่ก็เพิ่งจะมีศักยภาพ ในการผลิต chip CPU เทคโนโลยีสูงได้ เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ โดยแรกเริ่มนั้น ผลิตในปริมาณไม่มากนัก และ ทำผลิตออกมาเพื่อ
แข่งขันกับทาง Intel โดยผลิตชิบเลียนแบบ หรือเรียกกันว่า x86 compatible ซึ่ง รุ่นยอดนิยมก็ได้แก่รุ่น 386 ที่ผลิตตามหลัง Intel 80386 มาติดๆ โดยที่เรียกได้ว่า ลอกเทคโนโลยีกันมาเห็นๆเลย ถึงแม้ว่าทาง AMD จะออกมาประกาศ แก้ข่าวว่าไม่ได้ลอกเลียน แต่ความเป็นจริงๆที่เห็นๆ กันอยู่ก็คือสถาปัตยกรรมภายใน แทบเหมื่อนกัน 100% นั่นเอง และก็ไม่ใช่เพียง AMD เท่านั่น ที่ใช้ช่องว่างที่ Intel ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์
ภายใต้ชื่อรุ่นของ CPU ที่เป็นตัวเลขได้ ยังมี Processer จากค่าย Texas Instrument, UMC, IBM,IDT, และ Cyrix ที่ได้ส่วนแบ่งทางเทคโนโลยีอันนี้ไปผลิตขายอีกด้วย และ AMD ก็ได้ใช้วิธีนี้ ผลิต CPU Compatible ตามหลัง intel มาเรื่อยๆ
ในปี 1989 Intel ก็ได้เปิดตัว CPU ตระกูล 486 ของตนขึ้นมา ซึ่งมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งมีการรวมเอาหน่วยช่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ ( ในขณะนั้น เรียกว่า Math-Co Processor ) เข้ารวมไว้ใน CPU ตัวเดียวกัน และ ทั้งยังมีการเพิ่มหน่วยความจำขนาดเล็กเข้าไปใน CPU อีกด้วย เรียกว่าเป็น Cache ระดับ 1 ( L1 cache ) ซึ่งเป็นหน่วยความจำขนาดเล็กแต่มีความเร็วสูง ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ
แต่ต่อมาทาง Intel ได้ออก CPU ตระกูล 586 โดยที่รุ่นนี้หันไปใช้ชื่อ Pentium แทนที่จะเป็นรุ่น 586 สาเหตุก็เพราะ เรื่องการจดลิขสิทธิ์ชื่อที่เป็นตัวเลขนั่นเอง (ชื่อสินค้าที่เป็นตัวเลข กฏหมายไม่ยอมให้จดลิขสิทธิ์) จึงได้จดลิขสิทธิ์ชื่อของ CPU รุ่นที่ถัดจาก 486 เป็นชื่อ เพนเทียมแทน ( Pentium มาจาก Penta ซึ่งแปลว่า 5 ) แต่ทาง AMD นั้น ก็ยังคงใช้ชื่อในลักษณะเดิม คือ 5×86 ซึ่งก็ใช้สถาปัตยกรรมตามอย่าง Intel 486 นั่นเอง และทาง Cyrix นั้น ก็ใช้ชื่อ 5×86 เช่นกัน CPU ที่เป็น 5×86 ของทั้ง AMD และ Cyrix นั่น ใส้ในล้วนเป็น 486 engine ที่พัฒนาขึ่นมาเพื่อให้เหนือหว่า 486 ของ Intel และสามารถแข่งขันในตลาดของ Socket 3 (486) ได้เต็มที่
เมื่อทาง Intel เข้าสู่ Generation ที่ 5 และเปลี่ยนชื่อไปแล้วอย่างนั้น ก็มีผลกับทาง AMD และ Cyrix ซึ่งใช้การโฆษณาจากทาง Intel ในการขาย CPU ของตน ทำให้ AMD หันไปใช้ชื่อของตัวเองบ้าง โดย CPU ใน generaion ที่ 5 ของตนนั้น ให้ชื่อว่า AMD K5 ซึ่งใส่ฟังก์ชันต่างๆเป็น 2 เท่าของ Intel Pentium แต่ด้วยความล่าช้าในการผลิต ทั้งๆ ที่โปรโมทไว้ตั้งนานแล้ว … ทำให้ CPU ของ AMD รุ่น K5 นั้นไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร และ เท่าที่ทราบ ก็คือ ไม่มีการนำมาขายที่พันธ์ทิพย์พลาซ่าอย่างจิงจัง จะมีบ้างก็เพียงร้านที่หิ้วกันเข้ามาขายเอง เช่น CompWaxx เป็นต้น และช่วงนั้นเอง Cyrix จึงได้มีโอกาสสร้างชื่อกับ 6×86 ซีพียูตัวใหม่ที่ตามหลัง Pentium มาติดๆ โดย Cyrix ได้ทำสัญญาการร่วมมือผลิตชิป กับทาง IBM (ซึ้งมีข้อแม้ว่า หลังจากที่ IBM ผลิตชิปให้ Cyrix นำออกจำหน่ายได้ 2 เดือน IBM มีสิทธิที่จะจำหน่าย CPU รุ่นเดียวกัน ภายใต้ชื่อ IBM เองได้ด้วย ) และด้วยสาเหตุว่า Cyrix เป็น CPU ที่ราคาถูกกว่า Pentium ซึ่งมีราคาแพงมากในขณะนั้น พร้อมด้วยความสามารถที่ดี ไม่แตกต่างจาก Pentium มากนัก (ออกจะเร็วกว่าเล็กน้อย) CPU ของ Cyrix 6×86 จึงแทบจะครองตลาดระดับล่างในสมัยนั้นเลยทีเดียว โดยที่ AMD ช่วงเวลานั่น ได้เพียงแต่จ้องมองตลาดในพันทิพย์บ้านเราเท่านั่นเอง แต่การเปลี่ยนแปลงของ AMD ตรงนี้นี่เอง เป็นจุดเริ่มต้นของก้าวสำคัญของทาง AMD สำหรับ CPU ใน Generation ต่อมา
ต่อมา ทาง Intel ก็ได้วางตลาด CPU Intel Pentium Pro นั้น รุ่นนี้ทาง Intel หมายจะทำออกมาเพื่อใช้สำหรับ WorkStation มากกว่า PC ตามบ้าน โดย เปลี่ยนแปลง Architecture อีกนิดหน่อย เช่น มีการรวม cache ระดับ 2 เข้าบน chip ของ CPU  ( แต่ไม่ได้อยู่ภายใน core CPU เหมือนกับ cache ระดับ 1 ) และได้เปลี่ยน Interface ไปใช้บน socket 8 แทน ( ซึ่งแต่เดิม CPU ตระกูล Pentium เป็นต้นมา ใช้ socket 7 ) ซึ่ง Pentium Pro นั้น มี Performance ในด้านการประมวลผลจำนวนเต็ม ได้สูงกว่า CPU ในตระกูล RISC ( Reduce Instruction Set Computer ) เช่น MIPS และ SPARC อยู่มาก แต่ ด้วยราคาที่แพงมาก ทำให้เป็นปัญหาหนักในการเข้ามาแย่งตลาดลูกค้า และ นี่จึงเป็นการเปิดโอกาส ให้กับทาง AMD และ Cyrix ได้เข้ามามีส่วนแบ่งมากขึ้น
หลังจากนั้นไม่นาน Intel ได้ประกาศเทคโนโลยีใหม่ ที่เพิ่มเข้าให้กับ CPU ซึ่งเป็นคำสั่งพิเศษโดยจะมาช่วยลดการทำงานของ CPU ลง และเพิ่มประสิทธิ์ภาพในด้านของ Multimedia ทั้งหมด 57 คำสั่ง Intel ประกาศตัว MMX ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ SIMD ( Single Instruction Multiple Data stream ) และได้ผลิต CPU Intel MMX ออกวางขาย เป็นรุ่นถัดมา และ แน่นอน .. AMD ก็หวังจะทำตลาดระดับล่าง คืนมาจาก Cyrix โดยได้ทำการ ก็ได้ซื้อบริษัทผลิต Chip CPU ที่เป็นน้องใหม่มาแรง ชื่อว่า NextGen เพื่อให้ได้มาซึ่ง เทคโนโลยีระดับสูงที่จะไล่ทันทาง Intel และใช้เวลาในการรวมกิจการอยู่นานพอสมควรแล้วจึงได้ ผลิต CPU ตัวที่มีประสิทธิภาพสูง และ เป็นก้าวที่สำคัญมากของ AMD นั้นก็คือ AMD K6
เป็น Generation ที่ 6 ของทาง AMD โดยได้เพิ่มคำสั่งด้าน MMX เข้าไปด้วยเช่นกัน (เรียกกันว่า MMX Enhanced) ซึ่งจะว่าเลียนแบบก็ได้ หรือจะว่าไม่เลียนแบบก็ได้ … เพราะถึงแม้จะมีคำสั่ง MMX เหมือนกัน แต่โครงสร้างการทำงานของคำสั่งไม่เหมือนกัน และ สำหรับ CPU ของ AMD รุ่นนี้ ที่ Clock เท่าๆ กัน ก็มีความเร็วที่สูงกว่า Intel MMX ที่ Clock เท่าๆกัน … ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ มีการเพิ่ม cache ระดับหนึ่ง ใน CPU เป็น 2 เท่าของ Pentium MMX ( K6 มี 64K แต่ Pentium MMX มี 32 K ) และ K6 นี้ เป็น CPU ใน Generation ที่ 6 ในขณะที่ Pentium MMX นั้น เป็น CPU ใน Generation ที่ 5 ของ Intel ส่วนทาง IBM และ Cyrix นั้นก็ได้วางโครงการผลิต CPU ตระกูล 6x86MX ที่มีคำสั่ง MMX ออกมาเช่นกัน … และในรุ่นนี้นั่น ไม่ค่อยจะได้ส่วนแบ่งในตลาดซักเท่าไหร่
และต่อมา Intel ก็ได้ทำการรวมเอา Technology ของ Pentium Pro คือ มี cache ระดับ 2 รวมอยู่บน package เดียวกับ CPU กับ Technology MMX เข้าไว้ด้วยกัน แล้วทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน รวมทั้ง เปลี่ยนแปลง Interface เสียใหม่ ไม่ใช้แล้ว ทั้ง Socket 7 และ Socket 8 แต่หันไปใช้ Slot-1 แทน แล้วให้ชื่อว่า Intel Pentium II เพื่อหวังจะมาข่ม AMD K6 ที่ออกมาก่อนหน้า เพียงไม่นาน เพราะ AMD K6 นั้น ในด้านของการประมวลผลด้านทศนิยม ( FPU หรือ Floatingpoint Processing Unit ) ยังไม่เหนือชั้น กับ Intel Pentium II ที่ระดับความเร็วเท่าๆกันอยู่มาก โดย AMD K6 300 MHz นั้น จะมี FPU performance ประมาณเท่าๆกับ Intel Pentium MMX 233 MHz เท่านั้น ปัญหานี้ค่อนข้างจะเป็นปัญหาหนักสำหรับ ทาง AMD มาก เพราะเกมส์ 3D ที่ออกมา ต่างก็จำเป็นต้องใช้ FPU สูงๆ ทั้งนั้น
Pentium II Xeon นั้น ถูกพัฒนาเพื่อเน้นให้ใช้งานสำหรับ Server โดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมโดยทั่วๆ ไป จะคล้ายๆ กับ Pentium II แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่าง เห็นได้ชัดนั้น ก็มีไม่น้อยเช่นกัน
ย้อนกลับมาดูทางฝั่งของ Cyrix บ้าง ทาง Cyrix เองก็ประสบกับปัญหาใหญ่เช่นกัน เพราะในขณะนั้นทาง Intel มี CPU ที่มีความเร็วสูงถึง 400 MHz และ AMD ก็มีถึง 300 MHz แต่ คู่ขาของทาง Cyrix คือ IBM นั้นกลับไม่สามารถออกทำให้ความเร็วของ 6x86MX สูงกว่า 233 MHz ได้ ดังนั้นทาง Cyrix จึงได้ พยายามปรับปรุง 6×86 MX-PR 266 ( ซึ่งจริงๆ คือ 225 MHz ) ให้มีความสามารถเทียบเท่ากับ MII-300 ( จริงๆ คือ 233 MHz ) ซึ่งก็ได้แค่เพียงช่วยให้ตัวเองอยู่รอดได้เท่านั้น
แต่หลังจากนั้นเพียงไม่นาน AMD ก็ได้ประกาศเปิดตัว AMD K6-2 ขึ้น ซึ่ง โดยพื้นฐานเดิมๆ ก็มาจาก AMD K6 เดิมนั่นเอง เพียงแต่ได้แก้ไขบางส่วนเช่นปัญหาเรื่องความร้อนลงไปบ้าง และ สิ่งสำคัญ ที่เพิ่มเข้ามาบน K6-2 และ เป็นตัวที่ทำให้ AMD มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ไม่ใช่ เดินตามหลัง Intel อีกต่อไป นั่นก็คือ คำสั่งใหม่ๆ ที่เพิ่มเติม เข้ามาแบบ MMX ซึ่งเป็น SIMD enhance อีก 21 คำสั่ง โดยจะช่วยในการประมวลผลด้าน 3D .. ซึ่งความคิดนี้เกิดขึ้นจากที่ว่า โดยพื้นฐานของ CPU ของ AMD แล้ว จะมีความสามารถในการประมวลผล ด้านเลขทศนิยม ด้อยกว่าทาง CPU ของ Intel และ เกมส์ 3D ต่างๆ นั้น ก็ใช้ ทศนิยมในการคำนวนเป็นหลัก ทำให้ AMD พัฒนา 3Dnow! นี้ขึ้นมา
ใช่ว่า 3Dnow! ที่เกิดขึ้นมานี้ จะเป็นที่ติดตลาดในทันที เพราะ คำสั่งดังกล่าว ต้องการ Driver ที่สนับสนุน และ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง code บางส่วน ของเกมส์ต่างๆ เพื่อให้ ใช้ความสามารถนี้ได้ … ซึ่งในระยะแรกก็ดูเหมือนว่าลำบากอยู่เหมือนกัน จนกระทั่งยักษ์ใหญ่แห่งวงการ API 3D Game นั่นคือ Microsoft ผู้พัฒนา API DrirectX ได้ออก DirectX Ver 6.0 เพื่อมา Support 3Dnow! ของ AMD ทำให้ card 3D ต่างๆ ทั้งของ 3Dfx, nVidia, Matrox, S3, 3Dlabs และตัวอื่นๆ สามารถใช้ 3Dnow! ได้ แล้วผู้ผลิตเหล่านั่น ยังได้ประกาศว่าจะทำ Driver ของ Product ของตน ให้สนับสนุนฟังก์ชัน 3Dnow! จึงทำให้ Software และ เกมส์ต่างๆ หันมาสนับสนุนกันมากขึ้น
ในช่วงเวลาก่อนที่ทาง AMD จะเปิดตัว K6-2 ไม่นานนักนั้น .. ทาง Intel เอง ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของตลาดระดับล่าง เพราะถูกแย่งไปโดย ทั้ง AMD, และ Cyrix ไปมากแล้ว ( จะไปทนไหวได้อย่างไรล่ะ ) จึงได้ทำการประกาศตัว Intel Celeron ขึ้น ซึ่ง Celeron นั้น ก็ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันกับ Pentium II เพียงแต่ ไม่มี cache ระดับ 2 มาด้วย เพื่อลดต้นทุนการผลิต และ สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า Pentium II มาก โดยทาง Intel ประกาศว่า CPU Celeron ทุกรุ่น จะจำหน่าย ในราคาที่ไม่เกิน 200$ แต่ Intel เดินทางผิดเพราะ ถึงแม้ Celeron ที่ออกมานั้น จะใช้ในงานด้าน เล่นเกมส์ได้ดี แต่กลับงานประเภท office application กลับทำได้แย่กว่า หรือพอพอกับ Pentium MMX และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว Intel จนทนเสียหน้าอยู่ได้อย่างไร แถม AMD ประกาศตัว K6-2 ออกมา ซึ่งใช้ cache ระดับ 2 บน Mainboard ได้ และ Mainboard บางยี่ห้อ ก็มี cache บน Mainboard ถึง 1MB เลยทีเดียว ทำให้ประสิทธิภาพของ AMD K6-2 นี้ ต่างกับ Celeron อย่างเห็นได้ชัด ในแทบทุกด้าน (จะมีก็แต่ด้านที่ต้องใช้ FPU หนักๆ และ ด้านการ OverClock เท่านั้น ที่ Celeron ทำได้ดีกว่า ) โดยเฉพาะกับด้าน Office Application ซึ่ง AMD K6-2 นี้ สามารถทำ Performance ได้ดีกว่า Intel Pentium II ที่ความเร็วระดับเดียวกัน ซะอีก Intel จึงร้อนก้น และได้ทำการแก้ไข Celeron เสียใหม่ โดยเพิ่ม cache ระดับ 2 ลงไปด้วย บนแผ่น Silicon ชิ้นเดียวกับ CPU เลย (On-die) แต่มีขนาดเป็น 1/4 ของ ที่มีบน Pentium II (128KB) แต่ให้ทำงานที่ความเร็ว เท่าๆ กับ ความเร็วของ CPU เลย (Realtime-clock) ซึ่งก็พอจะช่วยชดเชยเรื่องขนาด cache ที่เล็กกว่า PII ไปได้บ้าง … และดึงตลาดระดับล่างกลับคืนมาได้บางส่วน เพราะราคาของ Celeron รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมานั้น ในระยะแรก ก็แพงกว่ารุ่นเดิมอยู่บ้าง แต่ก็ได้มีการหั่นราคากันลง แข่งกันไป แข่งกันมา จนราคาแทบจะเท่ากัน แต่ยังไง Celeron รุ่นใหม่นี้ ราคาก็ยังแพงกว่า AMD K6-2 ที่ความเร็วเท่าๆ กันอยู่อีกนิดหน่อยล่ะ
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จากรายงานที่ออกมาเมื่อเดือน มกราคม ( เมื่อต้นปี 1999 ) ก็พบว่า AMD นั้น มีส่วนแบ่งในตลาดมากถึง 43.9% ในขณะที่ทาง Intel นั้นกลับ ลดลงมาเหลือเพียง 40.3% นี่คงเป็นการบ้านให้ทาง Intel ต้องคิดหนักทีเดียว … กับคู่แข่งอย่าง AMD
เมื่อมาถึงรุ่นปัจจุบัน … Intel ก็ได้เพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปใหม่ ในลักษณะของ MMX เพื่อหมายจะแข่งกับ 3Dnow! ของ AMD โดยให้ชื่อในตอนแรกว่า KNI หรือ Katmai New Instruction ซึ่งก็ไม่สื่อความหมายสักเท่าไรนัก … และต่อมา ได้ทำการให้ชื่อเป็นทางการใหม่ว่า SSE หรือ Streaming SIMD Extensions ซึ่งก็เป็นชุดคำสั่ง MMX ใหม่ อีก 70 คำสั่ง ที่จะมาช่วยประมวลผลในด้านต่างๆ ไม่จำกัดแค่ด้าน 3D เท่านั้น และ ได้รวมชุดคำสั่งดังกล่าวนี้ เข้าไปใน CPU รุ่นถัดมา และตั้งชื่อว่า Intel Pentium !!!
AMD เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า ได้ทำการประกาศเปิดตัว CPU ตัวใหม่ของตนขึ้นมาตามกำหมด (ก่อนอินเทลถึงสามวัน) ซึ่งซีพียูตัวใหม่นี้ ไม่ได้มีคำสั่งใหม่ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาแต่อย่างใด แต่จะมีก็เพียง การออกแบบ Core ภายในใหม่ (แกนกลางประมวลผล) แล้ว ตั้งชื่อว่าเป็น CXT core ซึ่ง ก็ได้ทดลองใช้ CXT core นี้ กับ CPU K6-2 รุ่น 380 MHz และ 400 MHz มาแล้ว และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ ให้ Performance โดยรวมดีกว่า Core เดิมที่ clock เดียวกัน … สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับ CPU รุ่นใหม่ของ AMD นั้น ก็คือ … มีการใส่ cache ระดับ 2 เข้าไปบน package ของ CPU เลย และ ยังคงใช้กับ Mainboard แบบเดิมที่ใช้กับ AMD K6-2 ด้วย ซึ่ง ทำให้ CPU มอง cache บน mainboard นั้นเป็น cache ระดับ 3 … หรือ Tri-Level Cache และเรียกชื่อรุ่นใหม่นี้ว่า AMD K6-3 ซึ่งต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น AMD K6-III เพื่อให้คล้ายกับ Pentium !!!

:: เพิ่มเติม ::
ระเบิดศึก
ยุค Intel Pentium Classic กับ AMD 5×86 และ AMD K5
[ 11 Apr. 1999 ]
Intel Pentium ( Classic )
เพื่อแก้ปัญหาการอ้างชื่อรุ่นของ CPU ในการขาย CPU เลียนแบบจากทาง AMD และ Cyrix ทาง Intel จึงตัดสินใจจดลิขสิทธิ์ชื่อ CPU ของตน แต่ ชื่อที่เป็นตัวเลขนั้น ไม่สามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้ จึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อ CPU ใน generation ที่ 5 ของตนเป็น Pentium ( Pentium มีรากศัพท์มาจาก Penta ที่แปลว่า 5 ) ซึ่งต่อมา ก็เรียกว่า Pentium Classic  และพร้อมๆ กันนั้นเอง ก็ได้เกิด slogan ของ Intel ซึ่งจะติดมาพร้อมๆกับ CPU ของตนว่า “Intel Inside” เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าของตน ว่าได้ CPU ของตน ( Intel ) แน่ๆ
ทาง Intel ได้ประกาศตัว CPU Intel Pentium ในปี 1993 โดยเพิ่ม Cache ภายใน หรือ L1 Cache เป็น 2 เท่าจากรุ่น 486 คือ จาก 8 K เป็น 16 K แต่แบ่งหน้าที่การทำงานของ Cache เป็น 2 ส่วน คือ เป็น Data Cache ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่จะใช้ประมวลผล มีขนาด 8 K และ อีกส่วนหนึ่ง เป็น Instruction Cache ซึ่งใช้เก็บคำสั่งต่างๆ ที่จะใช้ในการประมวลผล อีก 8 K
ในส่วนของทรานซิสเตอร์ภายใน ก็เพิ่มจาก 486 ซึ่งมีประมาณ 1.2 ล้านตัว ไปเป็น 3.1 ล้านตัว และ ในส่วนของการประมวลผล ก็เปลี่ยนจากเดิมมาเป็น 32 Bit แต่ในส่วนของ FPU นั้นใช้ 64 Bit ดังนั้น pin ตรง interface ที่ใช้ ก็ต้องรองรับการส่ง/รับ ข้อมูลขนาด 64 Bit ด้วย ทำให้ต้องเปลี่ยน Interface ด้วย ทำให้ CPU Intel Pentium ไม่สามารถใช้บน Mainboard ของ 486 ได้ เรียก Interface นี้ว่า SPGA ซึ่งมีจำนวนช่องขาสำหรับใส่ pin ทั้งหมด 296 ขา หรือ ที่เราเรียกกันจนติดปากว่าเป็น Socket 7 นั่นเอง และ ไฟเลี้ยงของ CPU ก็เปลี่ยนมาเป็น 5 Volt ใน Pentium รุ่นแรกๆ ( Pentium 60 และ Pentium 66 ) แต่ต่อมา3.3 Volt เพราะการใช้ไฟที่ 5 Volt นั้น ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นสูงมาก จึงได้ลดไฟเลี้ยงลง รวมถึงเปลี่ยนมาใช้ system bus ที่ 50 , 60 และ 66 MHz ด้วย
CPU Intel Pentium นี้ ได้เพิ่ม Architecture เข้าไปใหม่ที่เรียกว่า “super-scalar” ซึ่งก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นมาจาก 486 มาก โดยเฉพาะประสิทธิภาพในด้านการประมวลผลเลขจำนวนเต็ม ที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
เรามาดูลักษณะเด่นๆ ของ Intel Pentium กันดีกว่า
• เป็น Superscalar Architecture
• Dynamic Branch Prediction ( เกี่ยวกับการทำนายผลการคำนวนล่วงหน้า )
• สำหรับหน่วยประมวลผลเลขจำนวนเต็มเป็น Pipeline ( 2 Pipeline )
• หน่วยประมวลผลเลขทศนิยม ก็เป็น Pipeline ( 1 Pipeline )
• Improved Instruction Execution Time
• แบ่ง Cache ออกเป็น 8 K สำหรับข้อมูล และ อีก 8 K สำหรับ คำสั่ง
• ในส่วนของ Cache ข้อมูล จะเป็น Cache แบบ WriteBack
• 64-Bit Data Bus
• Bus Cycle Pipelining
• Address Parity
• Internal Parity Checking
• Functional Redundancy Checking
• Execution Tracing
• สนับสนุนการทำงานแบบ Symmetric MuliProcessing หรือ SMP ทำให้สามารถใช้ Dual CPU ช่วยกันประมวลผลได้
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ Pentium วางตลาดไม่นาน ก็มีข่าวที่ทำให้ทาง Intel ต้องสะอึก นั้นก็คือในช่วงปลายปี ( ประมาลเดือน พฤศจิกายน ) 1994 ( พ.ศ. 2537 ) มีการพบ Bug หรือข้อผิดพลาดในการคำนวนเลขทศนิยม ซึ่งเกิดขึ้นกับการหาร จนเป็นข่าวและทำให้ผู้ซื้อเกิดความลังเลอยู่พอสมควร ทำให้ Intel ต้องเร่งแก้ปัญหานี้ และ ออกแถลงการณ์แก้ข่าวจนวุ่นเลยทีเดียว โดยทาง Intel ก็ยินดีเปลี่ยน CPU ที่มีปัญหานั้นให้ ( รุ่นที่มีปัญหาคือรุ่นแรกๆ ได้แก่ Pentium 60 และ Pentium 66 )
AMD 5×86 และ AMD K5
สำหรับ AMD นั้น เมื่อแยกตัวออกมาจาก Intel และ ผลิต CPU เลียนแบบ CPU ของ Intel โดยใช้ Microcode ของ Intel ซึ่งก็ผลิตมาจนถึงรุ่น AMD 5×86 ซึ่งก็เป็น CPU ที่มีความเร็วมากถึง 133 MHz ใช้ตัวคูณที่ 4 ( 33×4 ) ทำให้ประสิทธิภาพโดยทั่วๆไป นั้นใกล้เคียงกับ ระดับ Intel Penium 75 เลยทีเดียว แต่โดยสถาปัตยกรรมภายในแล้ว ก็เหมือนๆกับ 486DX นั่นเอง เพราะ ไม่ใช่ Superscalar Design เพียงแต่ มันเพิ่มความเร็วขึ้นมาเท่านั้นเอง แต่ก็มีบ้างสำหรับบางคำสั่ง ที่มันสามารถทำงานได้เสร็จภายใน 1 รอบสัญญาณนาฬิกา
AMD 5×86 นั้น มี Cache ภายใน หรือ L1 Cache ขนาด 16 K และ เป็นแบบ Write Back เป็น CPU แบบ 32 Bit และ ใช้ความกว้างของเส้นทางข้อมูล 32 Bit รวมถึงสามารถอ้างตำแหน่งได้ 32 Bit ด้วย
โดยสถาปัตยกรรมของ AMD K5 นั้นได้ spec ต่างๆ เป็นเท่าตัวของ Intel Pentium และได้มีการใช้ P-Rating ( หรือ PR ) เป็นตัววัดประสิทธิภาพ เทียบกับ CPU ของ Intel Pentium ซึ่งประสิทธิภาพของ AMD K5 นั้น ก็จัดได้ว่าดีเยี่ยมทีเดียว เพียงแต่ รุ่นนี้ออกมาช้า และขาดการโปรโมทที่ดี ทำให้ไม่ได้รับการนิยมเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ความสามารถนั้น ก็เทียบเท่ากับ Intel Pentium ( จะมีก็แต่ในส่วนของ FPU ที่ยังคงตามหลังอยู่ ) และ ราคานั้น ก็ถูกกว่า Intel Pentium อยู่พอสมควรเช่นกัน
เรามาดูลักษณะเด่นๆ ของ AMD K5 บ้างดีกว่า
o 4-issue core with full out-of-order execution and completion
o แบ่ง L1 Cache เป็นสองส่วน คือ 8 K สำหรับ Cache ข้อมูล และ อีก 16 K สำหรับ Cache คำสั่ง
o ในส่วนของ Cache ข้อมูล จะเป็น Cache แบบ WriteBack
o Dynamic, block-oriented branch prediction with speculative execution
o 5-stage RISC-like pipeline
o 6 parallel functional units
o High-performance FPU
o Validated software compatibility
o Static clock control with AMD-patented Digital Phase Lock Loop (DLL) circuitry
o 64-bit Pentium-compatible และใช้ Socket 7 เช่นเดียวกับ Pentium
o ใช้ System Bus เป็น 60 และ 66 MHz
o Compatibility with existing 586-class systems and supporting designs
o ใช้ไฟเลี้ยง CPU 3.52 MHz
ช่วงต้นยุคที่ 6 ( ของ CPU )
[ 11 June 1999 ]
Intel Pentium Pro ( P64C )
ในราวๆ เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1995 Intel ก็ได้เปิดตัว CPU ในยุคที่ 6 ของตน โดยมี CodeName ว่า “P6″ ซึ่งพัฒนาและปรับปรุงการทำงานเพิ่มเติมขึ้นมาอีก พอสมควรจาก Pentium Classic แต่ได้มีการย้าย Cache ภายนอก ( หรือ Cache ระดับ 2 , L2 Cache ) ซึ่งปกติแล้วจะวางอยู่บน Mainboard มาไว้ที่ แผ่น Silicon เดียวกันกับ CPU เลย ( แต่ไม่ได้อยู่ ภายใน CPU ) เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานของ L2 Cache และ การเพิ่มความเร็วในการเข้าถึง และดึง ข้อมูลจากใน Cache … แต่ก็ด้วยเหตุที่ต้องรวมเอา Cache เข้าไปด้วยนี้เอง ทำให้ราคาของ CPU นั้นสูงเอามากๆ
Intel ได้เปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง โดยหันมาใช้การประมวลผลแบบ RISC ใน CPU ของตนบ้าง ด้วยการดัดแปลงชุดคำสั่งสำหรับ x86 ของตนให้เป็น ชุดคำสั่ง ของ RISC ที่เล็กกว่า เร็วกว่า และ ง่ายกว่าเดิม เรียกว่าเป็นชุดคำสั่ง RISC86
Pentium Pro มี ชุด Pipeline 3 ชุด ซึ่งมากกว่า Pentium Classic ซึ่งมีเพียง 2 ชุด และมีการแยกขั้นตอนการทำงานออกเป็นถึง 14 ขั้นตอน และยังสนับสนุนการ ทำงานแบบคาดเดาคำสั่งที่จะต้องเรียกใช้ล่วงหน้าได้ ซึ่งเรียกว่า Speculative Execution แต่ Intel เรียกการทำงานนี้ว่าเป็น Dynamic Execution
อีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไป ก็คือ Interface ที่ใช้ ซึ่งจากเดิมใช้บน Socket 7 ก็หันมาใช้ที่ Socket 8 แทน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้กับ Mainboard ของ Pentium Classic แน่นอน จะใช้รุ่นนี้ ก็ต้องซื้อ Mainboard ใหม่ด้วย
สิ่งที่น่าแปลกใจ สำหรับ Pentium Pro อย่างหนึ่ง ก็คือ ขนาดของ Cache ภายใน หรือ Cache ระดับ 1 ที่ยังคงมีเพียง 16 K เท่านั้น เท่าๆ กับ Pentium Classic เลย แต่ก็ชดเชยจุดด้อยตรงนี้ด้วย Cache ระดับ 2 ที่มีขนาดใหญ่ และมีให้เลือกหลายรุ่น คือรุ่นที่มี Cache ระดับ 2 ขนาด 256 KB, 512 KB หรือ 1 MB และ ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับ CPU เพราะอยู่บน Silicon เดียวกัน
Pentium Pro นี้ โดยมากจะถูกนำมาใช้เป็น Server มากกว่าที่จะเป็น Desktop PC เพราะ มันสนับสนุนการทำงานแบบ SMP หรือ Symmetric MultiProcessing ซึ่งทำให้ใช้ CPU ได้ หลายตัว บน Mainboard ตัวเดียวกันได้ ทำให้ช่วยเพิ่มเสถียรภาพในการทำงาน สนับสนุนเรื่องของ Fault Tolerant ด้วย เมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อีกตัวหนึ่งก็จะทำงานแทนที่ได้ และยังช่วยสนับสนุนการประมวลผลแบบขนานอีกด้วย
Intel Pentium MMX ( P55C )
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1997 Intel ก็ได้เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ของตน คือ MMX หรือ MultiMedia eXtension ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ช่วยเพิ่มความสามารถในด้าน Multimedia เพราะในปัจจุบันนี้ Computer และงานด้าน Multimedia แทบจะแยกกันไม่ออกแล้ว ด้วยเหตุนี้เอง ทาง Intel จึงได้รวมชุดคำสั่ง MMX เข้ามาใน CPU ตระกูล Pentium ของตนด้วย เพื่อเป็นจุดขายใหม่ และ สร้าง มาตรฐานใหม่ของตนขึ้นมา
มาดูกันดีกว่าครับ ว่า Pentium MMX หรือ P55C นี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจาก Pentium Classic หรือ P54C บ้าง
อันดับแรกเลย คือชุดคำสั่ง MMX ไงละครับ อันนี้ของแน่อยู่แล้ว :-) ต่อมาคือขนาดของ Cache ภายใน ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นเท่าตัวจากเดิม ซึ่งมี Data Cache 8 K และ Instruction Cache 8 K ก็ถูกเพิ่มอีกเท่าตัวเป็น Data Cache 16 K และ Instruction Cache 16 K ในส่วนที่เปลี่ยนแปลงอีกอย่าง ก็คือ เรื่องของ ไฟเลี้ยง ซึ่ง Pentium Classic นั้น ใช้ไฟเลี้ยง 3.3 Volt แต่ Pentium MMX นั้น จะใช้ไฟเลี้ยงเป็น 2.8 Volt ที่ CPU core แต่ ในส่วนของ CPU I/O ยังคงเป็น 3.3 V.
ในรายละเอียดปลีกย่อยของสถาปัตยกรรมภายใน ก็ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีบางส่วนจาก Pentium Pro ซึ่งจัดเป็น CPU ในยุคที่ 6 ของ Intel ( P6 ) ที่เปิดตัวออกมาก่อนหน้านี้ไม่นานนัก ได้แก่ ความสามารถในเชิงของ Branch Target Buffer หรือ BTB ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำนายผลการคำนวนล่วงหน้า … ช่วยเพิ่มความเร็วในการประมวลผลได้อีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา / ปรับปรุง ในเชิงของ Return Address Prediction อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถทำการถอดรหัส และแยกการทำงานออกเป็น 2 Pipe พร้อมๆกันได้ เป็น Pipe จำนวนเต็ม และ MMX ซึ่งสามารถทำงานไปพร้อมๆกันได้เลย
สรุปรายละเอียด ของ CPU Intel Pentium MMX
o มีตั้งแต่รุ่นความเร็ว 166 MHz ถึง 233 MHz
o ใช้เทคโนโลยี ขนาด 0.35 micron
o Cache ระดับ 1 มีขนาดเป็นเท่าตัวของ Pentium Classic คือเป็น 32 K
o Die Size มีขนาด 141 ตารางมิลลิเมตร
o เพิ่มจำนวนของการ Write Buffer จาก 2 เป็น 4
o นำเทคโนโลยีเรื่อง Branch Prodiction ( Branch Target Buffer ) จาก Pentium Pro มาใช้
o พัฒนาเรื่อง Return Stack ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นมีใน Cyrix/IBM 6×86
o เพิ่ม step การทำงานของ U และ V Pipeline อีก 1 step
o พัฒนาเกี่ยวกับการทำงานแบบขนานของ Pipeline U และ V
o ชุดคำสั่ง MMX
o ใช้ไฟเลี้ยงใน CPU core 2.8 V แต่ ใช้สำหรับ CPU I/O เป็น 3.3 V.
AMD K6
ในวันที่ 2 เมษายน ปี ค.ศ. 1997 ทาง AMD เอง ก็ได้ทำการเปิดตัว CPU ในรุ่นที่ 6 ของตนขึ้นมาบ้าง เพื่อหมายจะมาแข่งกับ Intel Pentium MMX นั่นก็คือ AMD K6
ยังคงจำเรื่องของ NextGen ได้ไหมครับ บริษัทนี้ถูก AMD ซื้อและทำการรวมเทคโนโลยีเข้ามาด้วย ซึ่งในขณะที่ซื้อนั้น ทาง NextGen ก็ได้ออกแบบ CPU ในรุ่นที่ 6 ของตนไว้แล้ว คือ Nx686 ซึ่ง AMD ก็เลยได้ถือโครงสร้างที่น่าสนใจของ Nx686 มารวมเข้ากับ เทคโนโลยีของตน และ เพิ่มชุดคำสั่ง MMX ของตนเองเข้าไปด้วย ทำให้ได้ K6 ออกมา
o
สำหรับในรุ่นแรกนั้น AMD ได้เปิดตัวที่ความเร็ว 166, 200 และ 233 MHz ซึ่งมี transistor ภายใน 8.8 ล้านตัว และใช้เทคโนโลยี ขนาด 0.35 micron และต่อมาก็ได้เปิดตัว รุ่นความเร็วที่ระดับ 266 และ 300 MHz แล้วก็ได้หันมาใช้เทคโนโลยีขนาด 0.25 micon ด้วย ซึ่งในช่วงนั้นเอง ก็ได้ทำการตัดราคา CPU ของตนลงอีก ด้วย เพื่อหมายจะแข่งกับ Intel Pentium MMX ( คงไม่หวังจะแข่งกับ Pentium Pro ละครับ เพราะ เน้นตลาดคนละด้านกัน )
สิ่งที่ AMD K6 มีเพิ่มเติมเหนือไปกว่า Intel Pentium MMX ที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือ ขนาดของ Cache ภายใน หรือ Cache ระดับ 1 ( L1 Cache ) ซึ่งจะมีขนาดเป็นเท่าตัวของ Intel Pentium MMX ซึ่งก็คือ มี Data Cache 32 K และ Intruction Cache 32 K
มีความเร็วตั้งแต่ 166MHz ถึง 300MHz
o ใช้เทคโนโลยีขนาด 0.25 และ/หรือ 0.35 micron
o จัดเป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของ AMD
o เป็น RISC86 CPU ซึ่งมีสถาปัตยกรรมดังนี้
§ มี 7 หน่วยประมวลผลแบบขนาน
§ สามารถถอดรหัสของ x86 ไปยัง RISC86 ได้ทีละหลายๆคำสั่ง
§ สามารถทำนายผลการประมวลผลล่วงหน้าได้ 2 ระดับ ( Branch Prediction )
§ สามารถคาดเดาคำสั่งที่จะต้องทำงานล่วงหน้าได้ ( Speculative Execution )
§ สนับสนุนการทำงานแบบ Out-Of-Order Execution ( เป็น Feature ที่ใช้ใน Pipeline )
§ สนับสนุนการทำงานแบบ Data Forwarding ( เป็น Feature ที่ใช้ใน Pipeline )
o มีชุดคำสั่งเพิ่มเติมเพื่อจัดการกับด้าน MultiMedia ซึ่งก็คือชุดคำสั่ง MMX นั่นเอง
ตารางเปรียบเทียบ สรุปความสามารถด้านต่างๆ ระหว่าง Intel Pentium MMX , Intel Pentium Pro และ AMD K6
Processor Feature AMD K6 Pentium Pro Pentium MMX
RISC core Yes / 6 issue Yes / 5 issue No
Superscalar Yes
Speculative execution Yes No
Out of order execution Yes No
Data forwarding Yes No
Register renaming Yes No
Simple x86 decoders – 2 1
Sophisticated x86 decoders 2 1 1
Long x86 decoders 1 – -
Vector x86 decoders 1 – -
Execution Pipelines 6 5 2
Branch prediction Yes
Advanced 2 level branch prediction Yes No
Branch history table entries 8,192 512 256
Branch target cache entries 16 0
Branch prediction accuracy 95% 90% 75-80%
MMX technology Yes No Yes
High performance FPU Yes
L1 instruction and data cache 32K + 32K 8K + 8K 16K + 16K
Industry compatible SMM Yes
Latency ( ยิ่งน้อยยิ่งดี ) 2 clock 5-7 clock 2 clock
เมื่อจักรพรรดิตกบัลลังก์
[ 07 August 1999 ]
Intel Pentium II ( Klamath/Deschute )
ในกลางปี 1996 Intel ก็ได้ส่งตัว CPU ในตระกูล x86 ตัวใหม่ของตน ออกสู่ท้องตลาด นั่นก็คือ Intel Pentium II ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็เหมือน Pentium Pro ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งนั่นเอง เพราะโดยสถาปัตยกรรมทั่วๆไปแล้ว ก็ไม่ต่างจาก Pentium Pro เลย เพียงแต่มีการปรับแต่งบางอย่างให้มีความสมดุลย์ และ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่นมีการใส่คำสั่ง MMX เข้าไป และมี การปรับแต่ง Interface เสียใหม่ โดยจากเดิมนั้นใช้ Interface แบบ Socket เช่น Intel Pentium Pro ใช้ Socket 8 หรือ Intel Pentium MMX ใช้ Socket 7 ( และ/หรือ Socket 5 ) ก็หันมาใช้ Interface เป็นแบบ Slot แทน และเปลี่ยน Package ของ CPU จากที่เป็น PGA ( Pin-Grid Array ) มาเป็น SECC ( Single Edge Contact Cartridge ) ซึ่งมีลักษณะ เหมือนกับ กล่องวีดีโอเทป และ ได้มีการย้ายตำแหน่งของ Cache ระดับ 2 ออกมาไว้ต่างหาก ถึงแม้ว่าจะอยู่ใน SECC เหมือนกับ CPU แต่ก็ไม่ได้บรรจุไว้บน Chip ของ CPU อย่าง Pentium Pro และ ทำงานด้วยความเร็วเป็นครึ่งหนึ่งของความเร็ว CPU ( เช่น CPU ความเร็ว 300 MHz เจ้า Cache ระดับ 2 นี้ ก็จะทำงานที่ความเร็วเพียง 150 MHz เท่านั้น ) และยังได้เพิ่มขนาดของ Cache ระดับ 1 เป็น 32K ซึ่งเป็น 2 เท่าของ Intel Pentium Pro เลยทีเดียว
รูปข้างล่างนี้ แสดง Package ของ Intel Pentium II ทั้งด้านหน้า และ ด้านหลัง
CPU Intel Pentium II นั้น มี 2 รุ่น … รุ่นแรกที่ออกสู่ท้องตลาดนั้น ใช้เทคโนโลยีขนาด 0.35 Micron และ ใช้ไฟเลี้ยง ( Vcore ) 2.8 Volt มี Code Name ว่า Klamath ซึ่ง CPU รุ่นนี้จัดว่ามีความร้อนสูง ต่อมา ทาง Intel จึงได้ทำการลดขนาดของแผ่นเวเฟอร์ลง หันมาใช้เป็นขนาด 0.25 Micron แทน และใช้ไฟเลี้ยงเป็น 2.0 Volt แทน โดยรุ่นนี้จะมี Code Name ว่า Deschute
Intel Pentium II Xeon
Pentium II Xeon นั้น ถูกพัฒนาเพื่อเน้นให้ใช้งานสำหรับ Server โดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมโดยทั่วๆ ไป จะคล้ายๆ กับ Pentium II แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่าง เห็นได้ชัดนั้น ก็มีไม่น้อยเช่นกัน
Intel Celeron ( SEPP / PPGA 370 )
ถึงแม้ว่า Intel Pentium II ที่ออกมานั้น จะมีประสิทธิภาพที่ดูแล้วเด่น และ น่าสนใจมากๆ แต่ก็ติดปัญหาที่ราคานั้น จัดว่าสูงมาก ทำให้ไม่สามารถเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดระดับล่างได้ … ทาง Intel จึงได้เปิดตัว Celeron ขึ้น โดยใช้โครงสร้างภายในมาจาก Intel Pentium II รุ่น Deschute นั่นเอง เพียงแต่ตัดเอา Cache ระดับ 2 ออก และ เปลี่ยน Package เล็กน้อย เป็น SEPP ( Singel Edge Processor Package )และได้ผลิตออกมา 2 รุ่นคือ ที่ความเร็ว 266 และ 300 MHz โดยมี CodeName ว่า Covinton ซึ่งราคานั้น ก็จัดว่าถูกกว่า Pentium II ที่ความเร็วเท่าๆ กัน ครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว
รูปแสดงการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของ CPGA ( 321 Pin ใช้กับ Socket 7 ) และ PPGA ( 370 Pin ใช้กับ Socket 370 )
รูปแสดงรูปร่าง และ รายละเอียดของ SEPP ของ Celeron รุ่น Mendocino Core
รูปเปรียบเทียบ SEPP, SECC ตั้งแต่ Celeron ( Covinton ) , Celeron ( Mendocino ) และ Pentium II ( Deschute )
และintelก็ได้ออก Pentium 3มา
ซึ่งINTEL และ AMD ได้แข่งขันกันมาเลื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน คือดังนี้
Intel ได้ออกรุ่น
Pentium 4 มาและก็ตามมาด้วย Pentium 4 ht ซึ่งจะมีcore2อัน และก็ตามมาด้วย Pentium D และ
intel core 2 duo, intel core 2 quad, Core 2 Extreme,Corei3, Corei5, Corei7
amd ได้ออกรุ่น
Athlon , Athlon x2, phenom
และรุ่นอื่นๆ อีกมากมาย

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีแก้ไขเครื่องพิมพ์ตารางไม่ตรง

จากที่ผมประสบณ์มาคร่าวๆ ดังนี้ครับ (ผมปวดกระบาลอยู่หลายวัน "กลุ้ม" หาข้อมูลตาม อากูดู สรุปตามนี้เลยครับ.


อันดับแรกจัดการทำความสะอาดตัวเซ็นต์เซอร์ก่อนเลย เอาสำลีหรือกระดาษทิชชูเช็คพวกคราบจาระบีออกให้สะอาดครับ





รูปก่อนและหลังทำความสะอาด



อีกรูปครับดูให้ชัดๆ 

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

iPhone5

แน่นอนว่า ยังไม่มีจริงแน่นอนสำหรับ iPhone5 แต่นี่ก็เป็นภาพในจินตนาการจาก ADR Studio หรือ Antonio De Rosa นักออกแบบชาวอิตาลีที่ออกแบบผลงาน Apple ในจินตนาการมาหลายครั้งแล้ว ซึ่งการออกแบบครั้งนี้ แกให้ชื่อว่า iPhone SJ .. แถมนอกจากออกแบบหน้าตายังแอบออกแบบ Spec ในใจไว้อีกด้วย เช่นใช้ CPU Duocore A6 ของ Apple , กล้อง 10 Megapixel ตัวเครื่องเป็น Capacitive Touch Screen ที่อยู่บนบอดี้แบบ Polycarbonate.




ที่มา : http://www.beartai.com

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

Free BSD คืออะไร

  FreeBSD เป็นระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) ที่มีความสามารถสูง สามารถติดตั้ง และสนับสนุนการทำงานในหลาย Platform อาทิเช่น ระบบ x86 (Pentium และ Athlon), AMD-64 (Opteron, Athlon64 และ EM64T), Alpha/AXP, IA-64, PC-98 และ UltraSPARC
     FreeBSD พัฒนามาจาก BSD เป็นเวอร์ชั่นของ UNIX® พัฒนาโดย University of California, Berkeley ปัจจุบันมีผู้สนใจและหันมาใช้ระบบปฏิบัติการ FreeBSD กันอย่างแพร่หลาย สามารถประยุกต์ใช้ทำเครื่องแม่ข่าย (Server) สำหรับให้บริการต่าง ๆ บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ก็ใช้ระบบปฏิบัติ FreeBSD ด้วยเช่นกัน เพราะระบบปฏิบัติการดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูง ทำงานได้รวดเร็ว ติดตั้งง่าย ระบบความปลอดภัยสูง เพื่อนๆ ลองดูซิครับแล้วจะติดใจ
ที่มา :: www.freebsd.org
ความเป็นมาของ ฟรีบีเอสดี (History of FreeBSD)
         Jordan Hubbard ได้เขียนถึงความเป็นมาของ FreeBSD เอาไว้ที่หน้าเว็บไซต์ http://www.freebsd.org/doc/en_US.ISO8859-1/books /handbook/history.html เอาไว้ว่า
         โครงการ FreeBSD เกิดขึ้นประมาณต้นปี 1993 ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากพัฒนาการของ "Unofficial 386BSD Patchkit'' จากผู้ร่วมงาน 3 คน คือ Nate Williams, Rod Grimes และ Jordan Hubbard

         เป้าหมายเดิมของ ของการสร้างโปรแกรม 386BSD เพื่อแก้ปัญหามากมาย ที่ patchkit แก้ไม่ได้ ชื่อโครงการนี้แต่เดิมคือ "386BSD 0.5" หรือ "386BSD Interim'' นั่นเอง
         386BSD เดิมเป็นระบบปฎิบัติการของ Bill Jolitz's แต่โปรแกรมนี้มีจุดอ่อนหลายอย่างและไม่ได้พัฒนาต่อเนื่อง กล่าวคือ patchkit มีขนาดใหญ่มากขึ้นทุกวัน และทำงานได้ช้า (patchkit swell) พวกเขาจึงช่วยแก้กันปัญหา 386BSD แต่แผนปฏิบัติการครั้งนี้ต้องหยุดชะงักเพราะ Bill Jolitz เขาตัดสินใจถอนตัวไม่สนับสนุนดำเนินการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ โดยผู้ร่วมงานทั้ง 3 คนก็ยังไม่ทราบเหตุผลการตัดสินใจของ Bill Jolitz จนถึงบัดนี้
         ในส่วนของผู้ร่วมงานเห็นว่าถ้าดำเนินการแก้ปัญหาสำเร็จจะมีประโยชน์มากแม้ ว่า Bill จะไม่สนับสนุนพวกเขาก็ตามเลยดำเนินการต่อไป และเปลี่ยนชื่อโครงการว่า "FreeBSD'' โดยความร่วมมือของ David Greenman การดำเนินการเบื้องต้นโดยการกำหนดเป้าชัดเจน หลังจากนั้นโครงการจึงเป็นรูปร่างเป็นจริงขึ้นมา Jordan Hubbard กล่าวว่าเขาติดต่อกับ Walnut Creek CDROM เพื่อมุ่งหวังปรับปรุงการปฏิบัติงานของ FreeBSD แก้ข้อบกพร่องในการใช้ร่วมกับอินเตอร์เน็ต Walnut Creek CDROM ไม่เพียงแต่สนับสนุนความคิด FreeBSD บน CD เท่านั้น แต่ดำเนินการสนับสนุนโครงการด้วยการให้สามารถใช้งานกับอินเตอร์เน็ตได้เร็ว มากขึ้น ถ้าหากว่าไม่มี Walnut Creek CDROM's มาช่วย FreeBSD จะถูกลืมไป ชื่อเสียงการยอมรับน่าจะไม่มีจนถึงทุกวันนี้
         การจัดจำหน่าย CDROM (and general net-wide) ครั้งแรกคือ FreeBSD 1.0 ตั้งแต่ธันวาคม 1993 ชุด CDROM นี้พัฒนามาจาก 4.3BSD-Lite ("Net/2'') ซึ่งเป็นที่ชื่อที่มาจาก U.C. Berkeley มีส่วนประกอบได้มาจาก 386BSD Free Software Foundation จัดได้ว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จทีเดียว
ต่อมาอีกชุดหนึ่งคือ FreeBSD 1.1 ออกมาในเดือนพฤษภาคม 1994.
         ในช่วงเวลาเดียวกันเริ่มเกิดปัญหาขึ้นเมื่อ Novell and U.C. Berkeley มีการดำเนินการฟ้องร้องเรื่องสถานภาพตามกฎหมาย Berkeley Net/2 tape เงื่อนงำโดยสถานภาพในแง่กฎหมายตาม U.C. Berkeley's ซึ่งได้รับสัมปทานส่วนใหญ่ Net/2 และเป็นทรัพย์สินของ Novell ซึ่งได้รับสิทธิบัตรมาจาก AT&T สิ่งที่ Berkeley ได้รับมาเป็นการตอบแทนก็คือ Novell's ซึ่ง 4.4BSD-Lite ปล่อยออกจำหน่าย เมื่อมีการจำหน่ายออกจริง จึงได้มีการประกาศว่า ลักษณะที่ไม่สะดวกใช้ มีการแนะนำให้ใช้ Net/2 แทนได้ รวมทั้ง FreeBSD งานทั้งโครงการดำเนินมาถึงปลายเดือนกรกฎาคม 1994 จึงมีการหยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจาก Net/2 ภายใต้เงื่อนไขนั้น มีข้อตกลงให้จำหน่ายเป็นครั้งสุดท้ายก่อนสิ้นสุดการจำหน่ายตามสัญญา, ตัวที่ออกมาจำหน่ายหลังสุดคือ FreeBSD 1.1.5.1. ก่อนที่จะไม่ให้จำหน่ายต่อไปอีก
         FreeBSD ได้ดำเนินการพัฒนาใหม่จากเดิมที่ใหม่สุดแต่ยังไม่ สมบูรณ์ซึ่งเรียกกว่า 4.4BSD-Lite bits. มันปราดเปรียวขึ้นเพราะ Berkeley's CSRG ตัดส่วนที่เทอะทะออกไปเพราะสะดวกในการปฏิบัติงานได้สะดวกขึ้น (due to various legal requirements) และโดยข้อเท็จจริงที่ว่า Intel port of 4.4 ไม่สมบูรณ์แบบเอาเลย โครงการนี้ต้องใช้เวลาจนถึงพฤศจิกายน 1994 ส่วนที่ไม่สมบูรณ์นี้ ต่อจากนั้นจึงส่งตัวนี้ส่ง FreeBSD 2.0 ทางอินเตอร์เน็ตและ CDROM (ในปลายเดือนธันวาคม) แม้ว่าจะมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง (FreeBSD 2.0.5) ในการ release ครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จ ตามมาด้วยการ release ต่ออีกครั้งหนึ่ง (FreeBSD 2.0.5) ในเดือนมิถุนายน 1995
         FreeBSD 2.1.5 เปิดตัวในเดือน สิงหาคม 1996 และเป็นที่นิยมพอสมควรในบรรดา ISP และ แวดวงการค้า เป็นผลให้มีการออกชุดใหม่ FreeBSD 2.1.7.1 ออกในเดือน กุมภาพันธ์ 1997 และ ก่อให้เกิดการพัฒนา 2.1-STABLE ขึ้น ซึ่งเป็นในช่วงการดูแลให้โปรแกรมสามารถใช้การได้ดี เน้นแก้ไขในด้านการรักษาระบบความปลอดภัยและการแก้ปัญหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม (RELENG_2_1_0).

         FreeBSD 2.2 แยกย่อยมาจากการพัฒนา mainline ("-CURRENT'') ในเดือนพฤศจิกายน 1996 ให้เป็น RELENG_2_2 branch, และมีการออกชุดที่สมบูรณ์ (2.2.1) ในเดือนเมษายน 1997 ที่มีการ releases ต่อมาร่วมกับ 2.2 branch มีในช่วง the summer และ fall of '97 อันสุดท้าย (2.2.8 ) ในเดือน พฤศจิกายน 1998 การเปิดตัวออกมาเป็นทางการของ FreeBSD 3.0 ในเดือนตุลาคม 1998 และถือเป็นการสิ้นสุดการการพัฒนาในรุ่น 2.2 branch.

         โครงการใหญ่มีการเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 20 เดือนมกราคม 1999 นำไปสู่โครงการย่อย คือ 4.0-CURRENT และ 3.X-STABLE branches จาก 3.X-STABLEคือ 3.1 เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1999, 3.2 เมื่อ 15 พฤษภาคม 1999, 3.3 เมื่อ 16 กันยายน 1999, 3.4 เมื่อ 20 พฤษจิกายน 1999, และ 3.5 เมื่อ 24 มิถุนายน 2000, หลังจากนั้นไม่กี่วันมีการแก้ไขจาก 3.X-STABLE 3.5.1 เพื่อทำงานรักษาความปลอดภัยร่วมกับ Kerberos. และนี่ถือว่าเป็นการจัดเป็นการเปิดตัวครั้งสุดท้ายของ 3.X-STABLE 3.X branch
         มีการออกโครงการใหม่อีกโครงการหนึ่งเมื่อ 13 มีนาคม 2000 ก่อให้เกิด 4.X-STABLE branch มีการ releases 4.X-STABLE branch ออกมาหลายชุด เริ่มจากเดือนมีนาคม 2000 และออกชุดสุดท้ายคือ 4.11-RELEASE เมื่อเดือนมกราคม 2005.
         ชุดที่รอคอยกันมาคือ 5.0-RELEASE ออกมาเมื่อวันที่ 19 เดือนมกราคม 2003 เป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องกันมาเกือบ 3 ปี การเปิดตัวครั้งนี้จัดว่าเป็นการเริ่ม FreeBSD ยุคใหม่ที่การออกแบบมาเพื่อใช้กับf advanced multiprocessor และ สนับสนุน UltraSPARCและ ia64 platforms ตามมาด้วยการออกรุ่น5.1 ในเดือนมิถุนายน 2003 ตามมาด้วย 5.2.1-RELEASE ซึ่งออกมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2004
         ในเดือนสิงหาคม 2004 5.3-RELEASE และกำลังตามมาด้วย 5.4 ซึ่งเป็นการเริ่มต้น releases ชุด 5-STABLE branch จนถึงปัจจุบันโครงการที่พัฒนาต่อเนื่องยาวนานกันมาใน 6.X-CURRENT (trunk) branch, ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ และ SNAPshot releases เป็น 6.X ในแบบ CDROM และทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งติดตามได้จาก snapshot server

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Nod32 keys update 4 August 2011

Username:EAV-49864423
Password:n3pjcpencj

Username:EAV-49864425
Password:uppf7jrccd

Username:EAV-49864450
Password:h7ftjdj8ed

Username:EAV-49867559
Password:sb4rjr2d52

Username:EAV-49844450
Password:m3hkc5dxj5

Username:EAV-49844453
Password:7vpm6rptbd

Username:EAV-49844454
Password:j4xt6hp33t

Username:EAV-49844499
Password:26cnxaatkn

Username:EAV-49844535
Password:bchtevmmar

Username:EAV-49844540
Password:4urs4da74u

Username:EAV-49844541
Password:vchhxejpca

Username:EAV-49864422
Password:tjxthn5636


AV / ESS

Username: EAV-49666788
Password: cueb8p6kej
Expiry: 01/11/2011

Username: EAV-49664470
Password: ff7jvn2h46
Expiry: 01/11/2011

Username: EAV-49666789
Password: p3nf7h6s62
Expiry: 01/11/2011

Username: EAV-49431534
Password: j2rcrkaun2
Expiry: 24/10/2011

Username: EAV-49432292
Password: 4tx765e2d6
Expiry: 24/10/2011

Username: EAV-49431500
Password: 6t2e4d87em
Expiry: 24/10/2011

Username: EAV-49432296
Password: 2ueexhr4uu
Expiry: 24/10/2011

Username: EAV-49697881
Password: pc6kst2jf3
Expiry: 02/11/2011

Username: EAV-49844450
Password: m3hkc5dxj5
Expiry: 07/11/2011

Username: EAV-49844453
Password: 7vpm6rptbd
Expiry: 07/11/2011

Username: EAV-49844453
Password: 7vpm6rptbd
Expiry: 07/11/2011

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

Nod32Keys in April 2011 Good For V2.7

Good for V.2.7
Username:EAV-44119993
 Password:ab6t8fud6v
Username:EAV-44616882
 Password:7khrrmje3f
Username:EAV-34139731
 Password:t334p3p3pr
Username:EAV-44662897
 Password:tu3becb45u
Username:EAV-43620599
 Password:6h7n28va54
Username:EAV-44559231
 Password:te3jpxtujp

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

Nod32Keys in April 2011

Eset Smart Security 4 Keys
Username:EAV-44440986
Password:5h8cvf2k2d
Username:EAV-44440988
Password:b788rbba38
Username:EAV-44444181
Password:e43hsm6usu
Username:EAV-44444182
Password:sa8nse64ha
Username:EAV-44441079
Password:dt88hr7csj
Username:EAV-44441080
Password:r2fefj7jj2
Username:EAV-44441981
Password:shme84ed6r
Username:EAV-44440188
Password:x5dcj8j73r
Username:EAV-44444186
Password:6k8ee4rfjx
Username:EAV-44441983
Password:27kb4ur56k
Username:EAV-44443141
Password:akbptj75ns
Username:EAV-44440184
Password:44x5rt84j3
Nod32 Antivirus 4 Keys
Username:EAV-44603276
Password:kbdm28cvrv
Username:EAV-44600884
Password:mf46mmfsrf
Username:EAV-44599867
Password:575ddesj6r
Username:EAV-44553005
Password:6e6rba2nfa
Username:EAV-44553001
Password:s46xnkcadk
Username:EAV-44553077
Password:emaubpn352
Username:EAV-44486600
Password:tccufuuh6v
Username:EAV-44486437
Password:fh7ppxb5pt
Username:EAV-44486300
Password:vtss6ruacm